ติวสถาปัตย์ มัณฑนศิลป์ วาดเส้น นิเทศศิลป์ drawing เรียนสถาปัตย์: May 2015

Saturday, May 30, 2015

ติวสถาปัตย์ : ผลงาน Delination ของน้องชีต้า

*การฝึกฝน* และ *ความอดทน* เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ

การมีสมาธิในสิ่งที่ทำ จะสรรค์สร้างให้เกิดงานที่มีพลังได้

ผลงาน Delineation ของน้องชีต้า 
คือบทพิสูจน์ของความตั้งใจเพื่อให้เกิดมิติภาพอย่างที่คิดไว้ 
แต่ละเส้นถูกถักทอรวมกันเป็นเรื่องราว

หนึ่งในผลงานดีๆใน Portfolio ที่ทำให้ชีต้าเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
การฝึกฝนไม่ได้ใช้เวลาชั่วข้ามคืน แต่เป็นการทำซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง
เพิ่มความชำนาญด้วยความคุ้นเคย เป็นทางเดียวที่จะทำให้เก่งได้

หวังว่าน้องๆทุกคนจะขยันเหมือนพี่ชีต้านะครับ ^^ 
สุดท้ายเข้ามหาวิทยาลัยได้ดั่งใจหวังจะรู้ว่าคุ้มที่เสียเวลาทุ่มเทครับ

ด้วยความรักและหวังดี อิอิ ^^
พี่กัน



Friday, May 29, 2015

Movment in Design and Art การเคลื่อนไหวในงานศิลป์

 Movement in Design and Art
ทุกอย่างในจักรวาลล้วนแล้วเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
สิ่งเหล่านี้คือความเปลี่ยนแปลงถ้าพูดแบบชาวพุทธก็คืออนิจจัง.

ในแง่มุมศิลปะและการออกแบบมีการสร้างความเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน
โดยหลักการเคลื่อนไหว(Movement)
นักออกแบบสามารถสร้างความรู้สึก
ว่ามีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในงานออกแบบ2และ3มิติได้ด้วย
 
นักออกแบบและศิลปินนิยมนำความเคลื่อนไหวมาใช้
เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้มากยิ่งขึ้นโดยการนำหลักการ
ซ้ำรูปร่าง(Figure Repeated), 
การใช้เส้นรอบนอกเบลอ(Blurred Outlines), 
และภาพทวีคูณ(Multiple Image)
 
ลองนำไปประยุกต์ใช้กับงานวาดเส้นของน้องๆดูนะครับ
รับรองว่าจะเกิดประโยชน์อย่างแน่นอน 
 
เวลาเรามองงานศิลป์ พยายามดูว่านักออกแบบเค้าต้องการสื่ออะไร 
และ เราตีความได้อย่างไรจึงจะเกิดกระบวนการตกผลึกในตัวเองนะครับ
การตีความไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน นี่คือความสนุกของการเสพศิลป์

พี่แมน Born to be Art












Thursday, May 28, 2015

เรียนวาดเส้น Trick ในการทำงาน Drawing

 Trick and Tips "Drawing by P'man"
ในการ วาดเส้น มีทั้งลักษณะแบบ Positive และ Negative
พูดง่ายๆคือ วาดจากแสงเป็นหลัก หรือ วาดจากเงาเป็นหลัก

ลองนึกภาพตามนะครับ 

1. คือใช้ดินสอดำวาดลงบนกระดาษสีขาว (ลงน้ำหนักให้เกิดเงา)

2. คือใช้ดินสอขาววาดลงบนกระดาษสีดำ (ลงน้ำหนักให้เกิดแสง)
 
หากอยากเก่งควรฝึกฝนทั้งสองแบบที่กล่าวมานี้ 
 
เพื่อจะได้เข้าใจกับความเป็นแสงและความเป็นเงา 
เมื่อเราฝึกบ่อยจะเกิดความชำนาญในการอ่านค่
และถอดรหัสของความเป็นน้ำหนักของแสงและเงาได้อย่างแม่นยำ 
ลองทายดูนะครับรูปใหนลงให้เกิดแสงและรูปใหนลงให้เกิดเงา
 
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆนะครับ ^^
 







 
 
เรียนวาดเส้น


ติววาดเส้น by พี่แมน เสนอตอน Symbol on Art works

ผลงานของArtists มากมาย
ล้วนมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่แฝงอยู่ในตัวผลงาน 

อาจจะสื่อสารผ่านเทคนิควิธีการและทัศนะธาตุต่างๆ
มีการเปรียบเทียบแทนค่าสัญลักษณ์ตามคุณสมบัติ 
กล่าวคือเนื้อหาของสิ่งนั้นๆ+หลักการทางองค์ประกอบ
และประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์
ถูกหลอมรวมก่อให้เกิดเป็นรูปร่างของสัญลักษณ์ขึ้น



***การศึกษาและหมั่นวิเคราะห์ผลงานต่างๆของศิลปินจึงเป็นสิ่งสำคัญ 
เพื่อเป็นการฝึกฝนการรับรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ทางศาสตร์แห่งศิลป์ของตนเอง
และนำมาปรับใช้ได้ในการสร้างสรรค์ในผลงานของเรา 

ถ้ามีประโยชน์ก็ฝากแชร์ด้วยนะครับ ^^
พี่แมน

ติววาดเส้น มัณฑนศิลป์







Sunday, May 24, 2015

งาน Drawing 24-05-2015

 Tips ในการทำงาน

ในขณะที่กำลังสร้างสรรค์ผลงาน
เราควรทำใจให้นิ่งและมีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

หมั่นสังเกตลักษณะของ"โครงสร้างพื้นผิว"และ"แสงเงา"

หากเราสมาธิหลุดบ่อยมากเท่าไร

นั้นหมายถึงเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดก็จะมากขึ้นตามมมาด้วย


ตัวอย่างงาน sketch design เด็กสถาปัตย์

การทำ Sketch Design ของวิชาความถนัดทางสถาปัตย์ 

แนวความคิดในการออกแบบเป็นเรื่องสำคัญ 
"การจัดองค์ประกอบ" งานต้องสื่อสารให้ชัดเจน และ มีลูกเล่น 
เพื่อทำให้งานน่าสนใจ ดึงดูดสายตา 
การลงเงา การเล่นมิติของงาน 

รวมถึงการเน้นวิธีการใช้งานตามโจทย์ที่จะสื่อให้เข้าใจมากขึ้น 

อย่างเช่น งานนี้ของน้องเนย 

ทาง Born to be Art ก็ลบ ปรุงแต่งงาน เสริมเพิ่มเติมมิติงานเข้าไป 
ให้ผลงานออกมา น่ามอง มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ขึ้น
เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับน้อง ในการทำงานครั้งต่อไป

ในกรอบสีแดงคืองานที่น้องเนยทำ ส่วนด้านล่างเป็น comment ของพี่ครับ

นี่อาจจะไม่ใช้งานที่ดีที่สุดแต่พี่ก็ดีใจที่น้องตั้งใจฝึกฝนนะครับ !


Thursday, May 21, 2015

Design technic by พี่แมน

"การมอง"
อาจเป็นการเรียนรู้ขั้นแรกสุดสำหรับนักออกแบบและศิลปิน

กระบวนการนี้กินรวมไปถึงการสังเกตเรียนรู้ทั้งจากธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะ งานออกแบบ และ ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

ศิลปินและนักออกแบบทุกคนถูกกระตุ้นโดยโลกรอบๆตัวและเรียนรู้ความเป็นไปได้
จากการสังเกตจากผลงานศิลปะทั้งหลาย

การศึกษาผลงานศิลป์ในยุคต่างๆจากทุกๆภูมิภาคและวัฒนธรรม
จะทำให้เรากระจ่างถึงความหมายอันสมบูรณ์แห่งการสร้างสรรค์
และช่วยให้เราค้นพบหนทางที่ดีขึ้น

ชาบูๆ ><"





สอบถามข้อมูลการเรียนไดที่นี่ครับ
Line : @borntobeart  อย่าลืมใส่ @ นะครับ
พี่แบด : 0896686970
พี่เอ็ม : 086626430

Tuesday, May 19, 2015

Design and Art around the world Vol.1

ขั้นตอนการคิดในกระบวนการออกแบบ
มักจะไตร่ตรองระหว่างความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบ(Form) และ เนื้อหา(content)
การไตร่ตรองนี้อาจจะเป็นที่มาของการ เพิ่มเติม หรือ ลดทอน 
ในระหว่างการทำงานหรือขณะกำลังร่างแบบต่างๆ (sketch หรือ วาดเส้น)
จะเป็นที่พอใจหรือไม่พอใจนั้นอาจเกิดขึ้นจาก...
ทัศน์ หรือ อิทธิพล ของค่านิยมในทางศาสตร์แห่งศิลป์ในยุคก่อนหน้านั้น
หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
  
ยกตัวอย่างแรก 

การไตร่ตรองแก้ไขของ Raymond Loewy 
ในการออกแบบตราสัญลักษณ์ของบริษัทขนส่ง เกรย์ฮาวด์ "Grey hound"
เพื่อแสดงออกให้เนื้อหาและรูปทรงอันเหมาะสม 
ฉะนั้นตราที่ใช้อยู่ในปี1933จึงดูอ้วนไปในสารตาของ Loewy 
มันอาจดูไม่ว่องไวปราดเปรียวเฟี้ยวฟ้าว 
ทางบริษัทจึงเห็นด้วยจึงแก้ไขให้มีพื้นฐานมาจากสุนัขเกรย์ฮาวด์สายพันธุ์แท้
และใช้เป็นตราสัญลักษณ์อันใหม่ (เฟี๊ยวมั้ยล่ะ)

ตัวอย่างสอง 




อาคาร Wexner Center for Arts ที่ The Ohio State University 
ซึ่งออกแบบโดย "Peter Eisenman "
เป็นผลงานที่ตอบคำถามเรื่องความเฉพาะของสถานที่
ในประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งและบริบทของมหาวิทยาลัย 
รูปแบบทั้งหมดได้ออกแบบตามเงื่อนไขต่างๆ ในการออกแบบของ Eisenman 
รวมไปถึงโครงสร้างที่เป็นหอคอยอิฐซึ่งทำให้นึกถึง คลังสรรพวุธ ในอดีต
อันเป็น Land mark ของที่ตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ 
และหอคอยนี้เป็นดั่งที่ระลึกถึงอดีดที่หลอมรวมเป็นสถาบัน
อันมีวัตถุประสงค์ตอบสนองต่อศิลปะของยุคปัจจุบัน

เป็นไงล่ะ งานออกแบบมันลึกซึ้งใช่ป่ะ
เริ่มสนุกยัง หรือ งง หนัก!!! 

by พี่แมน

สอบถามข้อมูลการเรียนไดที่นี่ครับ
Line : @borntobeart  อย่าลืมใส่ @ นะครับ
พี่แบด : 0896686970
พี่เอ็ม : 0866264301

ตรวจงาน ติวสถาปัตย์

Perspective Comment & Suggestion #ติวสถาปัตย์

การเรียนรู้ของ Born to be Art เราเน้นให้นักเรียน คิด ทำ ปรับปรุง พัฒนา
และได้เห็นตัวอย่างงานที่ดี นั้นคือจุดเริ่มต้นของนักออกแบบในอนาคต 

อย่างภาพ Perspective นี้ของน้องบอส ><"

ยังคงเห็นข้อผิดพลาดมากมาย 
ทั้งระยะภาพด้านหน้า  จุดสนใจภาพ และภาพรวม 

เราถึงต้องสร้างมิติใหม่ๆให้กับเด็ก และเมื่อเราแก้และทำให้นักเรียนดู 
สิ่งๆนั้นจะเป็นประสบการณ์และข้อคิดที่ดีกับนักเรียนตลอดไป 

ดูดีๆสิครับ จากงานน้อง จะต้องลบ จะต้องแก้ 
จะต้องเขียนทับแค่ไหน พี่ๆ Born to Art จะทำต่อไป

รักนะจุบุ จุบุ ^^

สอบถามข้อมูลการเรียนไดที่นี่ครับ
Line : @borntobeart  อย่าลืมใส่ @ นะครับ
พี่แบด : 0896686970
พี่เอ็ม : 0866264301


Wednesday, May 13, 2015

ตัวอย่างปก Portfolio น้องสถาปัตย์ครับ

 PORTFOLIO COVER MAKING

อยากนำเสนอเรื่องง่ายๆในการทำปก Portfolio 
ของนักเรียนในการสอบสัมพาษณ์คณะสถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยต่างๆ
จะทำแบบไหน จะเรียบง่าย หรือ ลวดลายเท่าไร 
ไม่สำคัญเท่าความเป็นตัวเรา กับแนวคิดสื่องานที่ออกไป
ไม่ว่าจะเป็น Delination / Perspective / Sketch / Drawing หรือ 
แม้จะเป็น งานการจัดองค์ประกอบพื้นฐาน ฯลฯ
เหมือนงานนี้ ของน้องมิสบะห์ 
ซึ่งปัจจุบันได้ก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัย 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม ลาดกระบังฯ 
จบปีที่ 2 เเล้ว จากใจรุ่นพี่ส่งถึงน้องๆรุ่นใหม่ครับ